กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายที่ใช้อ้างอิง เกี่ยวกับสิทธิของนักเรียนพิการ ในการขอรับบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา โดยระบุ สิทธิที่พึงได้รับ คุณสมบัติผู้มีสิทธิขอรับและกระบวนการหรือวิธีขอรับ และแหล่งที่ให้บริการอย่างชัดเจน
กฎหมายที่ใช้อ้างอิง เกี่ยวกับสิทธิของนักเรียนพิการ ในการขอรับบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ได้แก่
พระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒๐ กล่าวไว้ว่า “คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวยความสะดวก อันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ดังต่อไปนี้
(๑) การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยกระบวนการทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เพ่ือปรับสภาพทาง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกําหนด
(๒) การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติ ตามความเหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะหรือในสถานศึกษาท่ัวไป หรือการศึกษาทางเลือก หรือ การศึกษานอกระบบ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งอํานวยความสะดวกสื่อ บริการ และ ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสําหรับคนพิการให้การสนับสนุนตามความเหมาะสมของคนพิการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขท่ีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกําหนด
(๔) การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่าง เต็มท่ีและมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกับบุคคลท่ัวไป ตลอดจนได้รับส่ิงอํานวยความ สะดวกและบริการต่าง ๆ ที่จําเป็นสําหรับคนพิการ
(๕) การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม การพัฒนาและ บริการอันเป็นสาธารณะ ผลิตภัณฑ์ที่มีความจําเป็นต่อการดํารงชีวิต การช่วยเหลือทางกฎหมายและ การจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี ให้เป็นไปตามระเบียบท่ีคณะกรรมการกําหนด
(๖) ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารและเทคโนโลยีส่ิงอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสําหรับคนพิการทุกประเภทตลอดจน บริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดในกฎกระทรวง
๗. บริการล่ามภาษามือตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
๘. สิทธิที่จะนําสัตว์นําทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นําทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใด ๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง และการได้รับสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดยได้รับการยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าเช่าเพิ่มเติมสําหรับสัตว์ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยความพิการดังกล่าว
9) การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีกรที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ
10) การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การมีผู้ช่วยคนพิการ หรือการจัดให้มีสวัสดิการอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนดในระเบียบ
ผู้ช่วยคนพิการให้มีสิทธิได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียมตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ มีสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีสถานสงเคราะห์เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการให้แล้ว รัฐต้องจัดเงินอุดหนุนให้แก่สถานสงเคราะห์เอกชนนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนดในระเบียบ
ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับบริการให้คําปรึกษา แนะนํา ฝึกอบรมทักษะ การเลี้ยงดู การจัดการศึกษา การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทํา ตลอดจนความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อให้พึ่งตนเองได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนดในระเบียบ
คนพิการ และผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกําหนด
องค์กรเอกชนที่จัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรานี้ มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจํานวนเงินค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกําหนด”
๒. กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยสี สารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สําหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งมีใจความสำคัญดังนี้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๐ (๖) และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับ การจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั รไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้
“เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” หมายความว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูล และการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนํามาวิเคราะห์หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บ และการนําไปใช้งานใหม่
“เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร” หมายความว่า เครื่องมือหรืออุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์หรือบริการที่ใช้สําหรับคนพิการโดยเฉพาะ หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับ ความต้องการพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถ และศักยภาพที่จะเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากข้อมูล ข่าวสาร และการสื่อสาร
“ปลัดกระทรวง” หมายความว่า ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ข้อ ๓ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ต้องจัดให้ข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม บริการสื่อสาธารณะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร ที่อยู่ในความควบคุมดูแล อยู่ในรูปแบบ วิธีการ หรือช่องทางที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยคํานึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม
(๒) การจัดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก เพื่อการสื่อสาร ให้เป็นไปตามความต้องการพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท
หากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐไม่สามารถดําเนินการ ตามวรรคหนึ่งได้ ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผลแก่คนพิการ โดยดัดแปลง ปรับเปลี่ยน หรือปรับปรุง การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการพิเศษของคนพิการ แต่ละประเภท
ข้อ ๔ ให้สํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีการให้ หรือให้ยืมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร แก่คนพิการที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติตามข้อ ๑๐
ข้อ ๕ คนพิการที่ประสงค์จะใช้สิทธิขอยืมหรือขอรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารตามข้อ ๔ ให้ยื่นคําขอต่อหน่วยงานดังต่อไปนี้
(๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคําขอต่อสํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
(๒) ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นคําขอต่อสํานักงานสถิติจังหวัด หรือสํานักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
(๓) หน่วยงานอื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศ กําหนด
ข้อ ๖ คนพิการที่ประสงค์จะใช้สิทธิตามข้อ ๕ ต้องยื่นคําขอพร้อมด้วยเอกสาร หลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) บัตรประจําตัวคนพิการ
(๒) รายการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวก เพื่อการสื่อสารที่ประสงค์จะใช้สิทธิขอยืมหรือขอรับตามที่ระบุในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้
ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ หรือใน กรณีที่คนพิการมีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถยื่นคําขอด้วยตนเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะยื่นคําขอแทนก็ได้ โดยให้ยื่นคําขอพร้อมด้วยเอกสาร หลักฐานเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(๑) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือสําเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคําขอแทน
(๒) หลักฐานที่แสดงว่าได้รับมอบอํานาจจากคนพิการหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนพิการเนื่องจาก เป็นผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแลคนพิการ
ข้อ ๗ เมื่อคนพิการหรือผู้ยื่นคําขอแทนได้ยื่นคําขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานแล้ว ให้หน่วยงานที่รับคําขอตรวจสอบความถูกต้องและส่งคําขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่ผ่านการ ตรวจสอบแล้วไปยังคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการมอบหมายภายในระยะเวลา สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ
ข้อ ๘ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการมอบหมายต้องพิจารณา คําขอพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอจากหน่วยงานตามข้อ ๗ ทั้งนี้ อาจพิจารณาให้คนพกิ ารได้รับสิทธิเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้
ในกรณีที่เห็นสมควรคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการมอบหมายอาจขอ หลักฐานซึ่งแสดงว่าคนพิการไม่ได้ยืมหรือรับสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลือ อื่นใดทางการศึกษา ในลักษณะเดียวกัน ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ คนพิการมีสิทธิได้รบั สิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาด้วยก็ได้
ข้อ ๙ ให้สํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแจ้งผลการพิจารณา ให้คนพิการหรือผู้ยื่นคําขอแทนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ที่คณะกรรมการมอบหมายพิจารณาคําขอเสร็จ
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการมอบหมายพิจารณา อนุมัติตามคําขอ ให้สํานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีหน้าที่ในการให้ยืม หรือให้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร
ข้อ ๑๑ เมื่อคนพิการหรือผู้ยื่นคําขอแทนได้รับแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติตามคําขอแล้ว ให้นําผลการพิจารณาอนุมัติการขอยืมหรือขอรับมาแสดง และดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) การขอยืม ต้องทําสัญญายืมและสัญญาค้ําประกัน ณ สถานที่ยื่นคําขอ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติ เว้นแต่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการ มอบหมายจะเห็นสมควรยกเว้นการทําสัญญาค้ําประกัน
(๒) การขอรับ ต้องมาขอรับ ณ สถานที่ยื่นคําขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผล การพิจารณาอนุมัติ
การทําสัญญายืมและการทําสัญญาค้ำประกัน ให้เป็นไปตามระเบียบที่ปลัดกระทรวงกําหนด
ข้อ ๑๒ เมื่อครบกําหนดระยะเวลาตามสัญญายืม คนพิการหรือผู้ยื่นคําขอแทนต้องส่งมอบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารที่ยืมไปคืน ณ สถานที่ยื่นคําขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดกําหนดระยะเวลาตามสัญญายืม
ในกรณีที่คนพิการไม่อาจคืนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอํานวย ความสะดวกเพื่อการสื่อสารนั้นได้ เพราะเหตุอันเกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ให้คนพิการ ผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายตามราคาที่เหมาะสม
การคืนสิ่งของที่ยืมและการชดใช้ค่าเสียหาย ให้เป็นไปตามระเบียบที่ปลัดกระทรวงกําหนด
ข้อ ๑๓ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการมอบหมายอาจบอกเลิกสัญญา ยืมเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการส่ือสารก่อนครบ กําหนดระยะเวลาตามสัญญายืมได้ เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
(๑) คนพิการมิได้นําไปใช้ให้เกิดประโยชน์
(๒) คนพิการจะจําหน่าย ปล่อยปละละเลย หรือนําไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ซึ่งทําให้ทรัพย์นั้น เสียหายหรืออาจจะเสียหายในส่วนหน่ึงส่วนใดหรือท้ังหมด
(๓) คนพิการจะนําไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองหรือบคุ คลอ่ืนโดยทุจริต
การบอกเลิกสัญญายืมตามวรรคหนึ่ง ต้องแจ้งเหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาเป็นหนังสือ ต่อคนพิการไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนถึงวันที่จะให้ส่งมอบคืน
ข้อ ๑๔ ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดให้คนพิการ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล ผู้ดูแลคนพิการ หรือผู้ช่วยคนพิการ ได้รับการฝึกอบรม เพ่ือการเข้าถึงและใช้ ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร หรือบริการสื่อสาธารณะ อย่างทั่วถึงโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย
บัญชีท้ายกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมลู ข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สําหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๔
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๐ (๖) แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จาก สิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ในด้านข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอํานวย ความสะดวกเพื่อการสื่อสารสําหรับคนพิการทุกประเภท ตลอดจนบริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกําหนดในกฎกระทรวง จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
๓.พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๓ วรรค ๑ กล่าวไว้ว่า “คนพิการ” หมายความวา บุคคลซึ่งมีข้อจํากัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจําวันหรือ เข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใดประกอบกับมีอุปสรรค ในด้านต่าง ๆ และมีความต้องการจําเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจําวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกําหนด
มาตรา ๕ วรรค ๑ กล่าวไว้ว่า “ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา”
๔. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒ กล่าวได้ดังนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ และมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ ๒ ประเภทของคนพิการ มีดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
(๒) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
(๓) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
(๔) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
(๕) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(๖) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
(๗) บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์
(๘) บุคคลออทิสติก
(๙) บุคคลพิการซ้อน
ข้อ ๓ การพิจารณาบุคคลที่มีความบกพร่องเพื่อจัดประเภทของคนพิการ ให้มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทดังนี้
(๑.๑) คนตาบอด หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นมาก จนต้องใช้สื่อสัมผัสและสื่อเสียง หากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้ว อยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๖๐ (๖/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๒๐๐ (๒๐/๒๐๐) จนถึงไม่สามารถรับรู้เรื่องแสง
(๑.๒) คนเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษร ตัวพิมพ์ขยายใหญ่ด้วยอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หากวัดความชัดเจนของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๑๘ (๖/๑๘) หรือ ๒๐ ส่วน ๗๐ (๒๐/๗๐)
(๒) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับหูตึงน้อยจนถึงหูหนวก ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
(๒.๑) คนหูหนวก หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจการพูดผ่านทางการได้ยินไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งโดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยิน ๙๐ เดซิเบลขึ้นไป
(๒.๒) คนหูตึง หมายถึง บุคคลที่มีการได้ยินเหลืออยู่เพียงพอที่จะได้ยินการพูดผ่านทางการได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งหากตรวจวัดการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า ๙๐ เดซิเบลลงมาถึง ๒๖ เดซิเบล
(๓) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่ บุคคลที่มีความจำกัดอย่างชัดเจนในการปฏิบัติตน (Functioning) ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญร่วมกับความจำกัดของทักษะการปรับตัวอีกอย่างน้อย ๒ ทักษะจาก ๑๐ ทักษะ ได้แก่ การสื่อความหมาย การดูแลตนเอง การดำรงชีวิตภายในบ้านทักษะทางสังคม/การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การรู้จักใช้ทรัพยากรในชุมชน การรู้จักดูแลควบคุมตนเอง การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน การใช้เวลาว่าง การรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ทั้งนี้ ได้แสดงอาการดังกล่าวก่อนอายุ ๑๘ ปี
(๔) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
(๔.๑) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว ได้แก่ บุคคลที่มีอวัยวะไม่สมส่วนหรือขาดหายไป กระดูกหรือกล้ามเนื้อผิดปกติ มีอุปสรรคในการเคลื่อนไหว ความบกพร่องดังกล่าวอาจเกิดจากโรคทางระบบประสาท โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การไม่สมประกอบ มาแต่กำเนิด อุบัติเหตุและโรคติดต่อ
(๔.๒) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ ได้แก่ บุคคลที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัวซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ซึ่งมีผลทำให้เกิดความจำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ
(๕) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วนที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน คือ การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ในด้านที่บกพร่องได้ ทั้งที่มีระดับสติปัญญาปกติ
(๖) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา ได้แก่ บุคคลที่มีความบกพร่องในการเปล่งเสียงพูด เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติ หรือบุคคลที่มีความบกพร่อง ในเรื่องความเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูด การเขียนหรือระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบ เนื้อหาและหน้าที่ของภาษา
(๗) บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ ได้แก่ บุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์หรือความคิด เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม เป็นต้น
(๘) บุคคลออทิสติก ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติของระบบการทำงานของสมองบางส่วน ซึ่งส่งผลต่อความบกพร่องทางพัฒนาการด้านภาษา ด้านสังคมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีข้อจำกัดด้านพฤติกรรม หรือมีความสนใจจำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยความผิดปกตินั้นค้นพบได้ก่อนอายุ ๓๐ เดือน
(๙) บุคคลพิการซ้อน ได้แก่ บุคคลที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกัน
จาก พรบ. ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยสี สารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สําหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๔ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒ สรุปได้ดังนี้
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับ
การจำแนกประเภทคนพิการตามกฎกระทรวงของกระทรวงสาธารณสุขไม่ค่อยจะสอดคล้องกับการจัดการศึกษาพิเศษให้คนพิการตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลกระทรวงศึกษาธิการ(๔) จึงได้จำแนกคนพิการตามความต้องการจำเป็นทางการจัดการศึกษาเป็น ๙ ประเภท เพื่อมีสิทธิขอรับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษา ดังนี้
๑. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิทอาจแบ่งได้ ๒ ประเภท คือ
๑.๑ คนตาบอด หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษรเบรลล์หรือใช้
วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียงหากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๖๐ หรือ ๒๐ ส่วน ๒๐๐ (๒๐/๒๐๐) ลงมาจนถึงบอดสนิท (หมายถึง คนตาบอดสามารถมองเห็นวัตถุได้ในระยะห่างน้อยกว่า ๖ เมตรหรือ ๒๐ ฟุต ในขณะที่คนปกติสามารถมองเห็นวัตถุเดียวกันได้ในระยะ ๒๐ เมตรหรือ ๒๐๐ ฟุต) หรือมีลานสายตาแคบกว่า ๒๐ องศา (หมายถึง สามารถมองเห็นได้กว้างน้อยกว่า ๒๐ องศา)
1.2 คนเห็นเลือนลาง หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็นแต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ที่ขยาย
ใหญ่ได้หรือต้องใช้แว่นขยายอ่านหากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดี เมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับระหว่าง ๖ ส่วน ๑๘ (๖/๑๘) หรือ ๒๐ ส่วน ๗๐ (๒๐/๗๐) ถึง ๖ ส่วน ๖๐ (๖/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๒๐๐ (๒๐/๒๐) หรือมีลานสายตาแคบกว่า ๒๐ องศา
๒.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับรุนแรงจนถึงระดับน้อยอาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ
๒.๑ คนหูหนวก หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน
ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟังก็ตามโดยทั่วไป หากตรวจการได้ยินจะสูญเสียการได้ยินประมาณ 90 เดซิเบลขึ้นไป (เดซิเบลเป็นหน่วยวัดความดังของเสียง หมายถึง เมื่อเปรียบเทียบระดับเริ่มได้ยินเสียงของเด็กปกติเมื่อเสียงดังไม่เกิน ๒๕ เดซิเบลคนหูหนวกจะเริ่มได้ยินเสียงดังมากกว่า ๙๐ เดซิเบล)
๒.๒ คนหูตึง หมายถึง คนที่มีการได้ยินเหลืออยู่พอเพียงที่จะรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน
โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟังและหากตรวจการได้ยินจะพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า ๙๐ เดซิเบลลงมาจนถึง ๒๖ เดซิเบล คือ เมื่อเปรียบเทียบระดับเริ่มได้ยินเสียงของเด็กปกติเมื่อเสียงดังไม่เกิน ๒๕ เดซิเบล เด็กหูตึงจะเริ่มได้ยินเสียงที่ดังมากกว่า ๒๖ เดซิเบลขึ้นไปจนถึง ๙๐ เดซิเบล
๓. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง คนที่มีพัฒนาการช้ากว่าคนปกติทั่วไปเมื่อวัดสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้วมีสติปัญญาต่ำกว่าบุคคลปกติและความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ปกติอย่างน้อย ๒ ทักษะหรือมากกว่า เช่น ทักษะการสื่อความหมายทักษะทางสังคมทักษะการใช้สาธารณสมบัติการดูแลตนเองการดำรงชีวิตในบ้านการควบคุมตนเองสุขอนามัยและความปลอดภัยการเรียนวิชาการเพื่อชีวิตประจำวันการใช้เวลาว่างและการทำงานซึ่งลักษณะความบกพร่องทางสติปัญญาจะแสดงอาการก่อนอายุ ๑๘ ปี
๔. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ หมายถึง คนที่มีอวัยวะไม่สมส่วนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไปกระดูกและกล้ามเนื้อพิการเจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีความพิการระบบประสาทมีความลำบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติทั้งนี้ไม่รวมคนที่มีความบกพร่องทางประสาทสัมผัสได้แก่ตาบอดหูหนวกอาจแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๔.๑ โรคของระบบประสาท เช่น ซีรีบรัลพัลซี (Cerebral Palsy) หรือโรคอัมพาตเนื่องจากสมอง
พิการโรคลมชักมัลติเพิลสเคลอโรซีส (MulitipleSclerosis)
๔.๒ โรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้ออักเสบเท้าปุกโรคกระดูกอ่อนโรคอัมพาต
กล้ามเนื้อลีบหรือมัสคิวลาร์ดิสโทรฟี (Muscular Dystrophy) กระดูกสันหลังคด
๔.๓ การไม่สมประกอบมาแต่กำเนิด เช่น โรคศีรษะโตสไปนาเบฟฟิดา (SpinaBifida) แขนขา
ด้วนแต่กำเนิดเตี้ยแคระ
๔.๔ สภาพความพิการและความบกพร่องทางสุขภาพอื่นๆ ได้แก่สภาพความพิการอันเนื่องมา
จากอุบัติเหตุและโรคติดต่อ เช่น ไฟไหม้แขนขาขาด โรคโปลิโอ โรคเยื่อบุสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสและอันตรายจากการคลอดความบกพร่องทางสุขภาพ เช่น หอบหืด โรคหัวใจ วัณโรคปอด ปอดอักเสบ
๕. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง คนที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษาอาจเป็นภาษาพูดและ/หรือภาษาเขียน ซึ่งจะมีผลทำให้มีปัญหาในการฟัง การพูด การคิด การอ่าน การเขียน การสะกดหรือการคิดคำนวณรวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้สมองได้รับบาดเจ็บการปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไปซึ่งทำให้มีปัญหาในการอ่านและปัญหาในการเข้าใจภาษา ทั้งนี้ไม่รวมคนที่มีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากสภาพบกพร่องทางการเห็นการได้ยินการเคลื่อนไหวปัญญาอ่อนปัญหาทางอารมณ์หรือความด้อยโอกาสเนื่องจากสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมหรือเศรษฐกิจ
๖. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง คนที่มีความบกพร่องในเรื่องของการออกเสียงพูด เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติหรือคนที่มีความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจและหรือการใช้ภาษาพูดการเขียนและหรือระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบของภาษาเนื้อหาของภาษาและหน้าที่ของภาษา
๗. บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ หมายถึง คนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมากและปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมหรือวัฒนธรรม
๘. บุคคลออทิสติก หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคมภาษาและการสื่อความหมายพฤติกรรมอารมณ์และจินตนาการ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองที่ผิดปกติไปและความผิดปกตินี้พบได้ก่อนวัย 30 เดือนและมีลักษณะที่สำคัญคือมีความบกพร่องทางปฏิสัมพันธ์ทางสังคมการสื่อสารพฤติกรรมและอารมณ์การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้งห้าการใช้อวัยวะต่างๆ อย่างประสานสัมพันธ์การจินตนาการและมีความสนใจที่สั้น เป็นต้น
๙. บุคคลพิการซ้อน หมายถึง คนที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากว่าหนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกันเช่นคนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เป็นต้น
ซึ่งจากความหมายและการแบ่งประเภทของผู้พิการข้างต้น หากผู้พิการได้รับการลงทะเบียนตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ แล้วก็จะได้รับการสงเคราะห์ การพัฒนา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ แตกต่างกันไปตามประเภทของความพิการทำให้ผู้พิการเข้าถึงการคุ้มครองดูแลได้อย่างเหมาะสม และได้รับการดูได้ทั่วถึงมากขึ้น
สิทธิที่คนพิการพึงได้รับ
สิทธิที่คนพิการพึงได้รับตามกฎหมายมีดังนี้
๑. การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะกระทำมิได้
๒. คนพิการอาจยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือในกรณีที่คนพิการมีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยื่นคำขอด้วยตนเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลหรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะยื่นคำขอแทนก็ได้
๓. คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ เช่น
(๑) การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ
(๒) การศึกษา
(๓) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
(๔) การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองอย่างเต็มที่
(๕) การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม การพัฒนาและบริการอันเป็น สาธารณะ ผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี
(๖) ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับคนพิการทุกประเภท
(๗) บริการล่ามภาษามือ
(๘) สิทธิที่จะนำสัตว์นำทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใด ๆติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใด ๆ
(๙) การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ และ
(๑๐) การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การมีผู้ช่วยคนพิการ หรือการจัดให้มีสวัสดิการอื่น
๔. ผู้ช่วยคนพิการ ให้มีสิทธิได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นค่าบริการและค่าธรรมเนียม
๕.คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ มีสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีสถานสงเคราะห์เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการให้แล้ว รัฐต้องจัดเงินอุดหนุนให้แก่สถานสงเคราะห์เอกชนนั้น
๖. ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมทักษะ การเลี้ยงดู การจัดการศึกษา การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ตลอดจนความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อให้พึ่งตนเองได้
๗.คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด
๘.องค์กรเอกชนที่จัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กำหนด มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าใช้จ่าย
๙.เงินสนับสนุนแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
๑๐.สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยได้รับเงินสนับสนุนสำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
๑๑.กู้เงินเพื่อการประกอบอาชีพ
๑๒.เข้าทำงาน โดยนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงาน
๑๓.เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือบริการสาธารณะอื่น
๑๔.เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ซึ่งได้จัดอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการสำหรับคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษี หรือยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
๑๕.นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการที่จ้าง คนพิการเข้าทำงานมากกว่าร้อยละหกสิบของลูกจ้างในสถานประกอบการนั้น โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใดมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้นตามที่กฎหมายกำหนด
แนวปฏิบัติสําหรับคนพิการหรือผู้ปกครองในการขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา เพื่อขอรับหรือซื้อสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามกฎกระทรวงฯ
ให้คนพิการหรือผู้ปกครองดําเนินการดังนี้
๑.ร่วมเป็นคณะกรรมการคัดกรอง/คัดแยกและจัดทําแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๒.ยื่นแบบคําขอรับสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (คป.๐๑)
ต่อสถานศึกษาหรือศูนย์การศึกษาพิเศษพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบดังนี้
๒.๑.แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
๒.๒.สําเนาสมุดประจําตัวคนพิการ เอกสารรับรองความพิการจากแพทย์ หรือกรณีใช้
ใบรับรองบุคคลของสถานศึกษาว่าเป็นคนพิการ (คป.๐๔) ให้แนบหลักฐานการคัดกรองที่ใช้คัดกรองบุคคลนั้นๆ (ตามประกาศคณะกรรมการพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิช่วยเหลือทางการศึกษา เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการรับรองบุคคลของสถานศึกษาว่าเป็นคนพิการ) เฉพาะครั้งแรกเท่านั้น
ในการรับรองบุคคลว่าเป็นคนพิการในครั้งต่อไป ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อรับรอง จากแพทย์ (ตามข้อ ๖ แห่งประกาศคณะกรรมการพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิช่วยเหลือ ทางการศึกษา เรื่อง กําหนด หลักเกณฑ์และวิธีการ การรับรองบุคคลของสถานศึกษาว่าเป็นคนพิการ)
๓. การยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ ๒ใด้ดําเนินการตามกําหนดเวลาดังนี้
ภายในวันที่ ๑๐ มิถุนายน สําหรับผู้ที่ลงทะเบียนหรือเข้าศึกษาในภาคเรียนที่ ๑
ภายในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน สําหรับผู้ที่ลงทะเบียนหรือเข้าศึกษาในภาคเรียนที่ ๒
ภายในวันที่ ๑๐ เมษายน สําหรับผู้ที่ลงทะเบียนหรือเข้าศึกษาในภาคฤดูร้อน
กรณีขอรับบริการตั้งแต่แรกเกิด แรกพบความพิการ หรือการศึกษานอกระบบ และการศึกษา
ตามอัธยาศัย สามารถยื่นแบบคําขอได้ภายในวันที่ ๑ ของเดือนถัดไป
๔. รอผลพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิช่วยเหลือทางการศึกษา
๕. รับคูปองจากสถานศึกษา และลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
๖. เมื่อได้รับคูปองแล้วให้นําคูปองไปขอรับหรือซื้อสิ่งอํานวยความสะดวกสื่อบริการและความ
ช่วยเหลือ อื่นใดทางการศึกษา กับผู้ให้บริการ หรือหน่วยบริการ ภายในปีการศึกษาที่ได้รับ (๑๕ พฤษภาคม
ของปีถัดไป ) โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากศูนย์การศึกษาพิเศษที่จ่ายคูปอง
๗. ในกรณีที่ไม่ได้รับการอนุมัติ หรือไม่ได้รับคูปอง หรือต้องการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจาก การใช้คูปอง สามารถสอบถามหรือแจ้งที่สถานศึกษาหรือศูนย์การศึกษาพิเศษที่ยื่นแบบคําขอ
๘. ในกรณีที่คนพิการมีความต้องการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงรายการคูปองใก้ยื่นแบบคําร้องขอ ยกเลิก / เปลี่ยนแปลงรายการคูปอง (คป.๐๓) ต่อสถานศึกษาเพื่อดําเนินการต่อไป
ลำดับขั้นตอนการขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา
เพื่อขอรับหรือซื้อสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
บรรณานุกรม
ปิยะฉัตร มีหนุน. ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล .(ออนน์) .สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ : แหล่งที่มา http://www.pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=70
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ๒๕๕๑.คู่มือการขอรับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา : กรุงเทพฯ
พรบ. ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยสี สารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สําหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๔
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒
Welcome to the best online casinos 2021 – ⭐️ Casinos that accept
ตอบลบ⭐️ Best Online Casinos with Bonuses and Features ✓ Bonuses 메리트카지노 ✔️ Fast Payouts ✓ Slots with Payouts ✔️ 카지노사이트 Big 바카라 Payouts.